Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • ภาคเอกชนจี้รัฐอัด 9 มาตรการ ตรึงดีเซล3เดือน คนละครึ่งเฟส5

ภาคเอกชนจี้รัฐอัด 9 มาตรการ ตรึงดีเซล3เดือน คนละครึ่งเฟส5

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย ส.อ.ท. หอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย ประจำเดือน พ.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ว่า กกร.ได้สรุป 9 มาตรการ ที่ต้องการเสนอรัฐบาลเร่งดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อดูแลเศรษฐกิจ และประคองเศรษฐกิจ รักษาขีดความสามารถในแข่งขันของเอสเอ็มอี และดูแลประชาชน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน เช่น เศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน การแพร่ระบาดโควิด-19 ราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนปรับเพิ่มขึ้น เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงสุดในรอบ 10 ปี

สำหรับ 9 มาตรการ ประกอบด้วย

1.ขอให้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินระดับ 35 บาท เป็นเวลา 3 เดือน

2.ขยายเวลาลดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ที่จะครบกำหนดในวันที่ 20 พ.ค. นี้ อีก 3 เดือน เนื่องจากหากไม่ขยายเวลาการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันจะทำให้ราคาพุ่งขึ้น และเป็นภาระของผู้ประกอบการและประชาชน

3.ลดต้นทุนวัตถุดิบนำเข้า เช่น ลดภาษีนำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่จำเป็น เช่น ราคาปุ๋ยที่แพงมาก ควรจะต้องพิจารณาลดภาษีนำเข้า เพราะไม่เช่นนั้น ภาษีที่เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะไม่สามารถช่วยประชาชนได้ และเพิ่มโควต้าการนำเข้าให้มากขึ้นในสินค้าที่จำเป็นด้วย

4.มาตรการเสริมสร้างสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ เพราะว่าผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบอย่างหนักและยังไม่ฟื้นตัว ทำให้สภาพคล่องหายไป ดังนั้นจึงอยากให้ภาครัฐเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม และออกมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่ทำได้ทันทีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

5.ขอให้เร่งดำเนินการโครงการคนละครึ่งเฟส 5 สามารถดำเนินการได้ทันที วงเงิน 1,200-1,500 บาท ซึ่งจะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มกำลังซื้อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยต้องการให้กระทรวงการคลังเร่งทำความเข้าใจกับร้านค้า ในเรื่องการตรวจสอบภาษีด้วย เพราะที่ผ่านมาพบว่า มีจำนวนร้านค้าออกจากโครงการจำนวนมาก เพราะหากออกเป็นจำนวนมากอาจจะส่งผลกระทบต่อโครงการได้

6.ขอให้ขยายจำนวนสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกัน

7.ผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะสถานบันเทิง หากเปิดได้ จะทำให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ และมีเงินสะพัด ช่วยกำลังซื้อได้มาก

8.ลดภาระให้ผู้ประกอบการ เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งปัจจุบันจะเรียกเก็บ 100% จากปีที่ผ่านมาคิดเพียง 10% เท่านั้น หากไม่สามารถทำได้ ขอเรียกร้องให้ภาครัฐไม่ควรคิดดอกเบี้ยค่าปรับเงินเพิ่มสำหรับกรณีจ่ายภาษีล่าช้า เนื่องจากผู้ประกอบการจำนวนมากยังมีรายได้ไม่เพียงพอ และบางส่วนยังมีความไม่พร้อม

9.การเปิดประเทศโดยสมบูรณ์การส่งเสริมและอำนวยความสะดวก จัดกิจกรรม และดูแลค่าเงินบาทให้เหมาะสม

นายเกรียงไกร กล่าวว่า การพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำ ขอให้ภาครัฐคำนึงถึงเศรษฐกิจ ความสามารถของธุรกิจ ประสิทธิภาพของแรงงานแต่ละจังหวัด รวมถึงเงินเฟ้อด้วย โดยการปรับค่าแรงที่สูงเกินไป หรือเกินขีดความสามารถของผู้ประกอบการอาจซ้ำเติมผู้ประกอบการได้ โดยขอเสนอให้ใช้กลไกของคณะกรรมการค่าจ้าง ทำหน้าที่พิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามความเหมาะสมของเศรษฐกิจในพื้นที่แต่ละจังหวัด รวมทั้งนำกลไกการปรับขึ้นค่าแรง ขณะที่การใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะประกาศใช้วันที่ 1 มิ.ย.นี้ ได้ยื่นหนังสือไปยังรัฐบาลแล้ว ขอขยายเวลา 3 ปี เพราะกฎหมายรองยังไม่แล้วเสร็จ และให้ผู้ประกอบการมีเวลาปรับตัว แต่ถ้าภาครัฐไม่ชะลอออกไป จะขอให้ชะลอบทลงโทษออกไปอีก 3 ปี

“ครั้งนี้ กกร.ได้ใช้ประชุมประเด็นเศรษฐกิจนานมาก เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน โดยครึ่งปีหลังหากเปิดประเทศอยากให้เปิดแบบสะดวกจริงๆ อย่ามีเงื่อนไขเยอะ เพราะตัวนี้จะทำให้นักท่องเที่ยวมีความสะดวกในการเดินทางมากขึ้น ยิ่งนักท่องเที่ยวมากจะยิ่งช่วยเศรษฐกิจได้มากขึ้น ช่วยลดภาระทางการคลัง โดยเรายังมองกรอบประมาณการขยายตัวฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้อยู่ที่ 2.5-4% เงินเฟ้อ 3.5-5.5% ส่งออก 3-5%”